k-dramas

แนวทางใหม่ในอุตสาหกรรมซีรีส์เกาหลี ? การเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามอง

12/05/2020 - korseries

new norm kdrama industry

ใครที่ดูซีรีส์เกาหลีมาสักระยะ ส่วนใหญ่คงจะคุ้นเคยรูปแบบการออกอากาศซีรีส์กันดีว่าส่วนใหญ่ ซีรีส์ที่ออกอากาศในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ มักจะมีจำนวนเฉลี่ย 16 – 20 หรือบางเรื่องอาจจะมีถึง 24 ตอน อย่างไรก็ตามในช่วงระยะหลังมานี้ หากสังเกตดูจะพบว่ามีงานโปรดักชั่นจำนวนมากที่เริ่มปรับรูปแบบการออกอากาศด้วยจำนวนตอนที่สั้นลง เช่น 4 ตอน 8 ตอน 10 ตอน หรือ 12 ตอน

ดังที่เห็นจากผลงานซีรีส์ The Light in Your Eyes ช่อง JTBC (12 ตอน) , The Cursed ช่อง tvN (12 ตอน) , 365: Repeat the Year ช่อง MBC (12 ตอน) และ Strangers from Hell ช่อง OCN (10 ตอน) ที่ประสบความสำเร็จในการวางรูปแบบการออกอากาศด้วยจำนวนตอนประมาณ 10-12 ตอน และผู้ชมสามารถสัมผัสได้ถึงการดำเนินเรื่องที่รวดเร็ว พล็อตที่กระชับ และเริ่มที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการที่มีจำนวนงานโปรดักชั่นในรูปแบบนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ

the light in your eyes the cursed 365 repeat the year stranger from hell

โดยเฉพาะซีรีส์ในล็อตที่ออกอากาศในเดือนพฤษภาคม ปี 2020 มีหลายเรื่อง อย่าง Sweet Munchies ช่อง JTBC , Mystic Pop-up Bar ช่อง JTBC หรือ Team Bulldog: Off-duty Investigation ช่อง OCN ที่มีจำนวน 12 ตอน

Sweet MunchiesSweet munchies

Mystic Pop-up BarMysticPopupBar Poster03

Team Bulldog: Off-duty InvestigationTeamBullDog Poster002

สำหรับเหตุผลที่หลายผลงานเริ่มที่การลดจำนวนตอน มาจากอิทธิพลรูปแบบการรับชมของผู้คนที่เปลี่ยนไป จากเทรนด์งานโปรดักชั่นบน OTT เช่น เว็บดราม่า หรือ ซีรีส์บน Netflix และเพื่อที่จะปรับให้ตรงกับความต้องการในการรับชมคอนเทนต์ของผู้ชม ผู้ผลิตซีรีส์จึงเลือกที่จะทำให้ผลงานมีจำนวนตอนที่สั้นลง ซึ่งก่อนหน้านี้ผลงานซีรีส์เกาหลี Netflix Orginal เรื่องดัง Kingdom เป็นตัวอย่างงานโปรดักชั่นที่ประสบความสำเร็จ และเป็นกระแสโด่งดังไปทั่วโลก

poster kingdom season 1 2

คิมฮอนชิก นักวิจารณ์วัฒนธรรมป็อป ได้เปิดเผยว่า “ปัจจุบันนี้ไม่เหมือนในอดีต เมื่อมีผลงานต้นฉบับ เช่น ซีรีส์ต่างชาติ หรือ เว็บตูน จำนวนตอนจะต้องมีการพิจารณาเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ชมเป็นอันดับแรก ในอดีตมีผู้ผลิตจำนวนมากล้มเหลวในการสร้างภาพยนตร์ที่ทำรายได้ เพราะพวกเขาผูกมัดกับงานต้นฉบับและมีปัจจัยหลายอย่างที่ไร้ประโยชน์ แต่ในตอนนี้ผู้ผลิตทุ่มเทแค่เพียงจุดหลักของงานต้นฉบับให้สอดคล้องกับการรับชมของผู้ชมเท่านั้น จึงได้มีการตัดฉากที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเล่าเรื่องที่ไม่ได้เป็นไปตามต้นฉบับ และยังมีการปรับเปลี่ยนโดยการนำส่วนสำคัญขึ้นมาเล่าตั้งแต่เริ่มต้นอีกด้วย

การผลิตซีรีส์ให้กระชับมีผลต่อการลดต้นทุนการผลิต ถ้าหากยึดรูปแบบ และเรตติ้งหรือกระแสตอบรับคงไม่ใช่เรื่องดี การสูญเสียจะมีมาก ในขณะที่ต้นทุนยังคงเท่าเดิม แทนที่จะพยายามฝืนให้เป็นไปตามรูปแบบที่มี บริษัทโปรดักชั่นได้ลดจำนวนตอนลงแล้วดูที่กระแสตอบรับของผู้ชม ถ้าหากกระแสตอบรับออกมาดี พวกเขาอาจตัดสินใจที่จะผลิตผลงานในรูปแบบ spin-off (ภาคแยก) หรือ ซีซั่นใหม่แทน”

ในอดีตมีเหตุผลสำหรับผู้ผลิตซีรีส์ มีจำเป็นจะต้องผลิตซีรีส์จำนวน 20 หรือ 16 ตอน เพื่อให้ตรงตามรูปแบบโครงสร้างการทำกำไร เนื่องจากแนวโน้มในการใช้รูปแบบการรับค่าโฆษณาต่อครั้งนั้นมีราคาสูง อย่างไรก็ตามรูปแบบดังกล่าวนี้ได้เปลี่ยนไปจากเดิม

“ในตอนนี้ มีหลากหลายหนทางในการทำกำไร ไม่ว่าจะเป็นการขายลิขสิทธิ์ นำคอนเทนต์เข้าสู่แพลตฟอร์ม OTT กลยุทธ์แบบเดิมจึงกลายเป็นทางเลือก เพราะว่า ซีรีส์เรื่องหนึ่งไม่ได้พึ่งพารายได้จากโฆษณาทางโทรทัศน์เป็นหลักอีกต่อไป” คิมฮอนชิก กล่าว

แนวทางนี้สอดคล้องกับความคิดของผู้กำกับช่ือดังของวงการซีรีส์เกาหลี อย่าง ผู้กำกับชินวอนโฮ ที่เขาได้เปิดเผยถึงรูปแบบในการผลิตซีรีส์แนวการแพทย์ Hospital Playlist ที่มีความหวังที่จะให้รูปแบบการผลิตซีรีส์ของเขาเป็นโมเดลใหม่ที่ใช้ในวงการโทรทัศน์เกาหลี

“เราวางแผนเช่นนั้นเพื่อที่เราจะอยู่รอดได้ รูปแบบการออกอากาศซีรีส์ 2 ตอนต่อสัปดาห์นั้นมีประสิทธิภาพในอดีต แต่หลังจากที่เราพูดคุยพิจารณากันถึงการแข่งขันที่ดุเดือด ต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เปลี่ยนไป ผมก็เลยสงสัยว่ามันจะเป็นไปได้ไหม นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราผลิตซีรีส์ 1 ตอนต่อสัปดาห์ครับ และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมซีรีส์ถึงน่าจะออกมาดี และหวังว่านี่จะเป็นโมเดลใหม่ให้กับวงการโทรทัศน์ครับ” ผู้กำกับชินวอนโฮ กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวซีรีส์ Hospital Playlist

Hospital Playlist poster

นอกจากนี้นักวิจารณ์วัฒนธรรมป็อป ยังได้มองภาพกว้างในอนาคตของอุตสาหกรรมวงการโทรทัศน์เกาหลี ว่า จะมีผลงานซีรีส์ที่จะฉีกกรอบรูปแบบพื้นฐานมากขึ้น และ ผู้บริโภคที่มีจำนวนที่เติบโตอยู่แล้วก็จะเติบโตมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผู้ผลิตจำเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันกระแสนิยมของโลก ซึ่งหลายคนคุ้นเคยการรับชมซีรีส์ต่างชาติ เช่น ซีรีส์อเมริกัน ซีรีส์อังกฤษ ที่มีจำนวนตอนน้อยกว่าซีรีส์เกาหลี และ ผู้ผลิตจะต้องมองโลกทัศน์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการผลิตผลงานซีรีส์ว่าต้องการที่จะนำเสนอโลกทัศน์แบบไหนให้กับผู้ชมจึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จ พร้อมยังเสริมว่า แนวคิดแบบเดิม ๆ ที่เลือกแคสติ้งนักแสดงระดับฮัลรยูสตาร์มาเป็นนักแสดงนำหลัก หรือการผลิตซีรีส์เพื่อเรตติ้ง อาจไม่ใช่แนวทางที่มีประสิทธิภาพในยุคนี้อีกต่อไป

มาถึงจุดนี้ หลายคนอาจจะรู้สึกใจหายว่าซีรีส์ความยาว 16 ตอนจะหายไปหรือเปล่า..การเปลี่ยนแปลงจำนวนตอน หรือ การผลิตซีรีส์หลายซีซั่นนี้เป็นเพียงแนวโน้มที่มีสูงขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น ซึ่งในฐานะคนดูอย่างเรา ๆ คงจะต้องจับตาดูกันไปยาว ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

จาก ‘ซีรีส์อังกฤษ’ สู่ผลงานรีเมคในแบบฉบับเกาหลี งานดีงานคุณภาพไม่แพ้ต้นฉบับ

OST เพลงประกอบซีรีส์เกาหลี…เป็นมากกว่าสารความรู้สึกถึงคนดู

ติดตามข่าวสารจากเราได้ที่

Facebook Fanpage : facebook.com/korseries
Twitter : twitter.com/korseries
Website : korseries.com
Youtube : Korseries

Source (1)






Korupdate






เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก